วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560

บทที่ 10 การเตรียมตัวก่อนการนำเสนอ

เอกสารจำเป็นสำหรับงานนำเสนอ
ในการนำเสนอ ควรมีการจัดทำเอกสารประกอบการนำเสนอ เพื่อให้ผู้บรรยายใช้ดูรูปประกอบและแจกให้ผู้เข้าชมการนำเสนอเป็นเอกสารประกอบ ซึ่งเอกสารที่ควรจัดเตรียมมีดังนี้
1. สไลด์ (Slide)
2. บันทึกย่อ
3. เอกสารประกอบคำบรรยาย
4. หัวข้อที่เป็นเค้าร่าง
สไลด์ (Slide)
 สไลด์ คือ ภาพนิ่งที่ใช้การนำเสนอเนื้อหาซึ่งนักเรียนสามารถเรียกดูและใช้ควบคุมทำภาพนิ่งโดยมีขั้นตอนดังนี้
 1. คลิกเลือกสไลด์ที่ต้องการ
 2. คลิกที่ปุ่มมุมมองการนำเสนอภาพนิ่ง (Slide Show)

 3. จะปรากฏสไลด์ที่เลือกตามต้องการ
บันทึกย่อ (Note pane)

 บันทึกย่อ คือ ข้อความที่ได้สรุปประเด็นสำคัญไว้พูดิธิบายเนื้อหาภายในสไลด์แต่ละหน้า ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารไว้ดูในขณะบรรยายได้ โดยมีขั้นตอนในการสร้างดังนี้
1. เลือกมุมมองปกติ (Normal)
2. เลือกสไลด์ที่ต้องการ
3. พิมพ์ข้อความลงในกรอบสีเหลี่ยมด้านล่างเพื่อทำการบันทึกย่อ

การสร้างเอกสารประกอบการบรรยาย
 สามารถสร้างเอกสารประกอบคำบรรยาย เพื่อแจกผู้ที่เข้ามารับฟังการบรรยายไว้จดเนื้อความสำคัญ โดยสามารถกำหนดให้มีเลขหน้า ข้อความภายในหัวกระดาษและท้ายกระดาษเหมือนกันบันทึกย่อได้อีกด้วย โดยทำตามขั้นตอนดังนี้
1. คลิกที่แท็บมุมมอง (View)
2. เลือกปุ่มคำสั่งแบบเอกสารประกอบคำบรรยาย (Handout Master View)
3. เลือกปุ่มคำสั่ง ภาพนิ่งต่อหน้า (Slide Per Page)
4. จะปรากฎจำนวนสไลด์ตามที่เลือกบนเอกสารประคำบรรยาย
การพิมพ์เอกสารในการนำเสนอ
 เพื่อเป็นการประหยัดกระดาษและหมึกพิมพ์ ก่อนที่จะพิมพ์ภาพนิ่งหรือเอกสารประกอบคำบรรยายสำหรับผู้ชมทั้งหมดของคุณ ให้พิจารณาการวางงานนำเสนอของคุณไว้ในตำแหน่งที่ตั้งที่ใช้ร่วมกันแทน จากนั้นก่อนที่จะมีการนำเสนอ ให้แจ้งให้ผู้ชมของคุณทราบถึงตำแหน่งที่ตั้งของงานนำเสนอนั้น ผู้ที่ต้องการเอกสารที่พิมพ์ก็สามารถพิมพ์ออกมาได้ ส่วนผู้ที่ไม่ต้องการก็ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ออกมา
1. การตั้งค่าหน้ากระดาษ (Page Setup)
ก่อนที่จะพิมพ์เอกสาร ควรจัดวางหน้ากระดาษโดยทำตามขั้นตอนดังนี้
- คลิกที่แท็บคำสั่งมุมมอง (View)
- คลิกปุ่มคำสั่งต้นแบบเอกสารประกอบคำบรรยาย (Handout Master)
- คลิกปุ่มคำสั่ง ตั้งค่าหน้ากระดาษ (Page Setup)
- กำหนดคุณสมบัติในการตั้งค่าหน้ากระดาษดังนี้
2. การแสดงเอกสารก่อนการพิมพ์
 สามารถดูตัวอย่างหน้าจอได้เหมือนกับพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์ทุกประการเพื่อตรวจดูความถูกต้องและแก้ไขข้อผิดพลาด โดยมีขั้นตอนดังนี้
- คลิกปุ่มแฟ้ม (File)
- คลิกปุ่มพิมพ์ (Print)
- จะปรากฎตัวอย่างก่อนพิมพ์อยู่ทางด้านขวามือของโปรแกรม
3. การพิมพ์เอกสารประกอบคำบรรยาย
 การพิมพ์เอกสารประกอบคำบรรยายนั้น ก็เหมือนพิมพ์เอกสารในโปรแกรมต่างๆในชุด Office 2010 โดยมีขั้นตอนดังนี้
- คลิกปุ่มแฟ้ม (File)
- เลือกคำสั่งพิมพ์ (Print)
- จะปรากฎหน้าต่างพิมพ์ โดยแต่ละส่วนมีความหมาย
การเชื่อมโยงสไลด์ด้วยปุ่มปฏิบัติการ
 โดยปกติแล้วจะใช้การควบคุมการแสดงหน้าสไลด์ด้วยการคลิกเมาส์หรือกดปุ่ม PgUp หรือ PgDn แต่ในโปรแกรม Power Point สามารถใช้ปุ่มปฏิบัติการเชื่อมโยงการแสดงหน้าสไลด์ได้ดังนี้
1. คลิกที่แท็บแทรก (Insert)
2. คลิกปุ่มคำสั่งรูปร่าง (Shapes)
3. เลือกรูปแบบปุ่มปฏิบัติการที่ต้องการ (Action Buttons)
4. แแดรกเมาส์เพื่อสร้างปุ่มจะปรากฏกล่องโต้ตอบ Action Setting
5. คลิกแท็บคลิกเมาส์ (Mouse Click)
6. เลือกเชื่อมโยงหลายมิติไปที่ (Hyperlink to)
7. คลิกที่ลูกศรหัวลง (Drop Down)
8. เลือกตำแหน่งที่ต้องการ
9. คลิกปุ่มตกลง OK

บทที่ 9 การใส่ลูกเล่นในการนำเสนอ

การใส่รูปเล่มในการนำเสนอข้อมูล จะช่วยให้ข้อมูลนั้นดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยสามารถแทรกวัตถุ หรือสื่อมัลติเดียลงไปในสไลด์ได้
รูปแบบในการใส่ลูกเล่นในงานนำเสนอ
 นำเสนอแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ
1. การใสลูกเล่นให้กับหน้าสไลด์
 จะเป็นการสร้างความเคลื่อนไหวให้กับหน้าสไลด์ที่กำลังแสดงและจบลง โดยมีขั้นตอนในการสร้างดังนี้
- เลือกสไลด์ที่ต้องการลูกเล่น
- คลิกแท็บการเปลี่ยน (Transitions)
- เลือกรูปแบบการเปลี่ยนสไลด์
- เลือกเสียง (Sound) ประกอบให้กับสไลด์
- ระยะเวลาการเล่น

2. การใส่ลูกเล่นให้กับวัตถุภายในสไลด์
 จะเป็นการสร้างการเคลื่อนไหวให้กับองค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่ภายในสไลด์โดยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
 1. การใส่ลูกเล่นอย่างง่าย
 วิธีเหมาะสำหรับมือถือใหม่ที่พึ่งหัดใช้โปรแกรมเพราะโปรแกรมจะมีรูปแบบสำเร็จรูปไว้ให้เลือกใช้งานได้ตามความพอใจ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วที่สุด
- คลิกเลือกวัตถุที่ต้องการใส่ลูกเล่น
- คลิกแท็บภาพเคลื่อนไหว
- เลือกรูปแบบที่ต้องการ
2. การใส่ลูกเล่นแบบกำหนดเอง

 เป็นการใส่ลูกเล่นให้มีความโดดเด่นกว่าลูกเล่นที่โปรแกรมได้กำหนดให้ ทำให้กำหนดได้โดยไม่ต้องซ้ำแบบใคร โดยมีขั้นตอนในการใส่ดังนี้
- เลือกวัตถุที่ต้องการ
- คลิกที่แท็ปภาพเคลื่อนไหว (Animation)
- เลือกเพิ่มภาพเคลื่อนไหว (Add Animation)
- เลือกลูกเล่นให้กับวัตถุ
- กำหนดความเร็ว
โดยในโปรแกรมได้แบ่งลูกเล่นต่างๆออกเป็นหมวดหมู่ดังนี้
มีเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวอยู่สี่ประเภทด้วยกัน ได้แก่
เอฟเฟ็กต์ เข้า จะทำให้วัตถุค่อยๆ ปรากฏในโฟกัส หรือลอยเข้ามาจากขอบด้านใดด้านหนึ่งของสไลด์ หรือเด้งเข้ามาก็ได้
เอฟเฟ็กต์ ออก จะรวมถึงการทำให้วัตถุลอยออกไปจากสไลด์ หายไปจากมุมมอง หรือหมุนตัวออกไปจากสไลด์
เอฟเฟ็กต์ เน้น จะทำให้วัตถุลดหรือเพิ่มขนาด เปลี่ยนสี หรือหมุนรอบตัวเอง
การกำหนดลูกเล่นหลายแบบให้กับวัตถุชิ้นเดียว
ในPowerPoint 2010 และรุ่นที่ใหม่ กว่า คุณสามารถใช้ลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหว (ภาพเคลื่อนไหว) กับข้อความ รูปภาพ รูปร่าง กราฟิก SmartArt และ อื่น ๆ เพื่อให้พวกเขาเล่นในการนำเสนอภาพนิ่งของคุณ สร้างงานนำเสนอภาพนิ่งที่ animates คะแนนแสดงหัวข้อย่อยหรือแม้แต่ผลิตเครดิต
การกำหนดลำดับการแสดงลูกเล่นภายในสไลด์
 สามารถกำหนดลำดับการแสดงข้อมูลของลูกเล่นที่กำหนดไว้ภายในสไลด์ได้ดังนี้
- คลิกเลือกรายการที่ต้องการเปลี่ยนแปลง
- คลิกเมาส์เลือกสลับตำแหน่งที่ต้องการ
- รายการภาพเคลื่อนไหวจะถูกสลับตำแหน่ง
การยกเลิกลูกเล่นภายในสไลด์
 หากลูกเล่นที่ได้กำหนดไว้ยังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก สามารถเลิกหรือเปลี่ยนได้ดังนี้
 - คลิกรายการที่ต้องการยกเลิก
 - จะปรากฏลูกศรหัวลง (Drop Down) คลิกที่ลูกศร
 - คลิกเลือกเอาออก (Remove)



บทที่ 8 การแแทรกตาราง กราฟ และแผนผัง

การสร้างตาราง
โดยปกติแล้วหากข้อมูลที่นำเสนอบนสไลด์ที่มีรายละเอียดค่อนข้างมากและ
จำเป็นที่จะต้องจัดวางตำแหน่งเป็นลักษณะคอลัมน์มักจะนิยมใช้เทคนิคของตารางเข้ามาช่วยในการจัดตำแหน่งข้อมูล
1. คลิกที่เมนู Insert
2. เลือกปุ่มคำสั่งตาราง
3. แดรกเมาส์ขนาดตามที่ต้องการ

4. จะได้ตารางตามจำนวนที่ต้องการ
การตกแต่งตาราง

กราฟ

  การนำเสนอข้อมูลลงในรูปแบบกราฟส่วนใหญ่จะใช้ในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูล เพราะสามารถนำสื่อความหมายได้ชัดเจน โดยสามารถเลือกกราฟชนิดต่างๆ ให้เหมาะสมกับข้อมูลที่ต้องการนำเสนอได้
การสร้างกราฟ
คุณสามารถนำข้อมูลตัวเลขที่ต้องการเปรียบเทียบหรือแสดงความสัมพันธ์ มาประกอบงานนำเสนอใน PowerPoint ด้วยการสร้างเป็นกราฟหรือแผนภูมิแบบต่างๆ ได้ตามวิธีการดังนี้
1. เปิดโปรแกรม PowerPoint เลือกเมนู Insert > Chart 2. จะปรากฏรูปแผนภูมิ และตารางสำหรับป้อนข้อมูล ให้พิมพ์ค่าตัวเลขลงในตารางดังกล่าว
2. หากต้องการเปลี่ยนแผนภูมิเป็นรูปแบบอื่น เช่น แบบ Line, Pie, Area ให้คลิกที่เมนู Chart > Chart Type เลือกรูปแบบแผนภูมิที่ต้องการ แล้วคลิก OK
การแก้ไขข้อมูในกราฟ
เลือกแผนภูมิที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลง
ภายใต้ เครื่องมือแผนภูมิ บนแท็บ ออกแบบ ในกลุ่ม ข้อมูล ให้คลิก แก้ไขข้อมูล
Microsoft Office PowerPoint จะเปิดหน้าต่างที่แยก และจะแสดงแผ่นงานที่คุณต้องการแก้ไข
เมื่อต้องการแก้ไขเนื้อหาของชื่อเรื่องหรือข้อมูลในเซลล์ ในแผ่นงาน Excel ให้คลิกเซลล์ที่มีชื่อเรื่องหรือข้อมูลที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลง แล้วพิมพ์ข้อมูลใหม่
ให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
ถ้าแผนภูมิมีการเชื่อมโยง ให้บันทึกแผ่นงานแล้ว ปรับปรุงแผนภูมิใน PowerPoint
ถ้าแผนภูมินั้นถูกฝัง ให้ไปยังขั้นตอนที่ 5 PowerPoint จะบันทึกแผนภูมิฝังตัวโดยอัตโนมัติ
 บนแท็บ แฟ้ม ให้คลิก จบการทำงาน
ผังองค์กร
ผังองค์กร คือ แผนผังที่แสดงรายชื่อและตำแหน่งของบุคลภายในองค์กร ซึ่งสามารถสร้าขึ้นได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ Smart Art ซึ่งโปรแกรมมีผังองค์กรในรูปแบบต่างๆให้เลือกใช้งาน
การสร้างผังองค์กร
1. คลิกที่แท็บแทรก
2. คลิกที่ปุ่มคำสั่ง Smart Art
3. เลือกคำสั่งลำดับชั้น
4. เลือกรูปแบบที่ต้องการ
5. คลิกที่ปุ่ม OK
การเพิ่มตำแหน่งแผนผังองค์กร
สามารถเพิ่มตำแหน่งในผังองค์กรได้ ดังนี้
1. คลิกที่ผังองค์กร
2. คลิกที่แท็บออกแบบ (Design)
3. เลือกปุ่มคำสั่งเพิ่มรูปร่าง (Add Shape)
4. เลือกตำแหน่งที่ต้องการเพิ่ม (Add Shape After)



บทที่ 7 การแทรกเสียงและภาพยนต์

เสียงที่นำมาใส่ในสไลด์อาจอยู่ในรูปของไฟล์ อาจเป็นดนตรี เพลง เสียงที่บันทึกไว้เองหรือจะใช้
ดนตรี จากแผ่นซีดีเพลงมาใส่ในสไลด์ก็ได้ เมื่อนำมาใส่ในสไลด์จะเห็นเป็นรูปลำโพง ซึ่งสามารถจะกำหนด ให้เล่นเมื่อเริ่ม ฉายสไลด์ หรือเมื่อคลิกเมาส์ขณะฉายสไลด์ก็ได้ โดยมีวิธีการดังนี้
1.เลือก Insert (แทรก) >> Movies and Sounds (ภาพยนตร์และเสียง) >> Sound from Clip Organizer (เสียงจาก Clip Organizer)
2.คลิกเลือกเสียง
3.คลิกเพื่อให้เล่นทันทีที่ฉายสไลด์คลิกเพื่อให้เล่นเมื่อคลิกที่ไอคอนลำโพงเท่านั้น

4.ดับเบิลคลิกเพื่อลองฟังเสียง (ถ้าจะลบให้คลิกแล้วกด Delete)

การปรับแต่งเสียงประกอบสไลด์
 ในการสำเสนองาน บางครั้งไม่ต้องให้แสดงไอคอนรูปลำโพง และอยากให้มีการเล่นซ้ำหลังจากเล่นจบ สามารถทำได้ โดยจะต้องทำความรู้จักกับปุ่มคำสั่งต่างๆเสียก่อน
1. คลิกที่ไอคอนรูปภาพ
2. คลิกที่แท๊บการเล่น (Playback)
3. จาปรากฎแถบครื่องมือในการปรับแต่งเสียง

การกำหนดเวลาเล่นเสียงประกอบสไลด์
เมื่อต้องการเล่นเสียงซ้ำจนกว่าคุณจะหยุดเสียงนั้น หรือเมื่อต้องการเล่นเสียงในระยะเวลาของงานนำเสนอ คุณจะต้องระบุตัวเลือกการหยุด หรือตั้งค่าให้มีการเล่นเสียงอย่างต่อเนื่อง ถ้าแฟ้มเสียงมีความยาวไม่เพียงพอสำหรับการเล่นอย่างต่อเนื่องในระหว่างการนำเสนอ คุณสามารถตั้งค่าเสียงให้วนรอบหรือเล่นซ้ำได้ ถ้าคุณไม่ได้ระบุว่าเมื่อไรควรหยุดเล่นเสียง การเล่นเสียงจะหยุดลงเมื่อคุณคลิกเมาส์ครั้งต่อไป
ให้เพิ่มเสียง ถ้าคุณยังไม่ได้ทำการเพิ่มเสียง ในมุมมอง 'ปกติ' ให้คลิกภาพนิ่งที่คุณต้องการเพิ่มเสียง
บนแท็บ แทรก ในกลุ่ม มีเดียคลิป ให้คลิกลูกศรภายใต้ เสียง แล้วให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้


คลิก เสียงจากแฟ้ม ระบุตำแหน่งโฟลเดอร์ที่มีแฟ้ม แล้วคลิกสองครั้งที่แฟ้มที่คุณต้องการเพิ่มให้กับภาพนิ่ง
คลิก เสียงจาก Clip Organizer แล้วค้นหาคลิปที่คุณต้องการในบานหน้าต่างงาน ภาพตัดปะ แล้วคลิกเพื่อเพิ่มลงในภาพนิ่ง เมื่อมีข้อความแสดงขึ้น ให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
เมื่อต้องการเล่นเสียงโดยอัตโนมัติในเวลาที่คุณไปที่ภาพนิ่ง ให้คลิก อัตโนมัติ
เมื่อต้องการให้เล่นเสียงเฉพาะเมื่อคุณคลิกไอคอนเสียงเท่านั้น ให้คลิก เมื่อคลิก
เมื่อต้องการทำเสียงซ้ำอย่างต่อเนื่องจนกว่าคุณจะสั่งหยุดด้วยการคลิกเมาส์ ให้คลิกเสียง จากนั้นภายใต้ เครื่องมือเสียงให้คลิกแท็บ ตัวเลือก และในกลุ่ม ตัวเลือกเสียง ให้เลือกกล่องกาเครื่องหมาย วนรอบจนกว่าจะสั่งหยุด


เมื่อต้องการปรับการตั้งค่าสำหรับเวลาที่แฟ้มเสียงหยุด บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว ในกลุ่ม ภาพเคลื่อนไหว ให้คลิก การเคลื่อนไหวแบบกำหนดเอง
การบันทึกเสียง
เมื่อคุณบันทึกคำบรรยาย ให้คุณเรียกใช้งานนำเสนอและบันทึกลงในภาพนิ่งแต่ละภาพ คุณสามารถหยุดชั่วขณะและดำเนินการบันทึกต่อได้ทุกเวลา
ตรวจสอบให้แน่ใจได้จัดเตรียมไมโครโฟนแล้วและอยู่ในสภาพที่สามารถทำงานได้ก่อนการบันทึกการนำเสนอภาพนิ่งของคุณ
บนแท็บ การนำเสนอภาพนิ่ง ในกลุ่ม ตั้งค่า ให้คลิก การบันทึกการนำเสนอภาพนิ่ง
เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
เริ่มการบันทึกตั้งแต่ต้น
เริ่มการบันทึกจากภาพนิ่งปัจจุบัน
ในกล่องโต้ตอบ การบันทึกการนำเสนอภาพนิ่ง ให้เลือกกล่องกาเครื่องหมาย คำบรรยายและตัวชี้แบบเลเซอร์ และเลือกหรือยกเลิกการเลือกกล่องกาเครื่องหมาย การกำหนดเวลาภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ตามความเหมาะสม
คลิก เริ่มการบันทึก
เคล็ดลับ เมื่อต้องการหยุดคำบรรยายชั่วขณะ ใน เมนูทางลัดกำลังบันทึก ให้คลิก หยุดชั่วขณะ เมื่อต้องการดำเนินคำบรรยายต่อ ให้คลิก ดำเนินการบันทึกต่อ
เมื่อต้องการสิ้นสุดการบันทึกการนำเสนอภาพนิ่งของคุณ ให้คลิกขวาที่ภาพนิ่ง แล้วคลิก สิ้นสุดการนำเสนอ

การกำหนดเวลาการนำเสนอภาพนิ่งที่บันทึกไว้จะได้รับการบันทึกไว้โดยอัตโนมัติ และการนำเสนอภาพนิ่งจะปรากฏในมุมมองตัวเรียงลำดับภาพนิ่งโดยมีกำหนดเวลาแสดงไว้ที่ด้านล่างของแต่ละภาพนิ่ง
ในมุมมอง 'ปกติ' บนภาพนิ่ง ให้คลิกที่ไอคอนเสียง
บน Ribbon ภายใต้ เครื่องมือเสียง บนแท็บ การเล่น ในกลุ่ม แสดงตัวอย่าง ให้คลิก เล่น
ในมุมมองปกติ ให้คลิกภาพนิ่งที่คุณต้องการเพิ่มข้อคิดเห็น
บนแท็บ แทรก ในกลุ่ม สื่อ ให้คลิกลูกศรใต้ เสียง แล้วคลิก บันทึกเสียง
เมื่อต้องการบันทึกเสียงข้อคิดเห็น ให้คลิก บันทึก แล้วเริ่มการพูด
เมื่อคุณบันทึกเสียงเสร็จสิ้น ให้คลิก หยุด
ในกล่อง ชื่อ ให้พิมพ์ชื่อสำหรับเสียงนั้น แล้วคลิก ตกลง
การแทรกวีดีโอลงในสไลด์
เราได้เรียนรู้การนำไฟล์วิดีโอเข้าไปใช้ใน Power point 2010แล้ว คราวนี้มาดูวิธีการใน PowerPoint 2010 กันบ้าง ซึ่งจะคล้ายกันแต่ตะมีรายละเอียดที่การสั่งควบคุมเล็กน้อยดังนี้
1.ทำการ insert movie
2.ดับเบิ้ลคลิกที่วิดีโอในแผ่นสไลด์จะเกิดเครื่องมือ Video Tools

บทที่ 6 การปรับแต่งสไลด์ด้วยภาพ

การแทรกภาพประกอบสไลด์
การใส่รูปภาพในงานนำเสนอนั้นสำคัญเป็นอย่างมากครับเพราข้อมูลแต่ละอย่างจะอ่านแค่ข้อมูลเป็นตัวอักษรอย่างเดียวไม่ได้ถ้าไม่ประกอบด้วยรูปภาพ จะทำให้ดูจืด ๆ ไม่โดดเด่น

แถบเครื่องมือในการปรับแต่งภาพประกอบสไลด์
แท็บ Ribbon จัดกลุ่มเครื่องมือและฟีเจอร์เข้าด้วยกันตามวัตถุประสงค์ ตัวอย่างเช่น ในการทำให้สไลด์ของคุณดูดีขึ้น ให้ค้นหาตัวเลือกบนแท็บ ออกแบบ เครื่องมือที่คุณใช้ทำภาพเคลื่อนไหวบนสไลด์ควรจะอยู่บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว
มาดูกันว่าคุณจะพบอะไรบ้างในแท็บ Ribbon ของ PowerPoint แต่ละแท็บ
1. หน้าแรก
แท็บ หน้าแรก จะมีฟีเจอร์ ตัด และ วาง ตัวเลือก ฟอนต์ และ ย่อหน้า และสิ่งที่คุณต้องใช้เพื่อเพิ่มและจัดระเบียบสไลด์

2. แทรก

การปรับแต่งโหมดสีของภาพ
1. คลิกที่แถบเครื่องมือรูปภาพ
2. คลิกปุ่มคำสั่ง
3. เลือกรูปตามที่ต้องการ
4. สีของภาพต้นฉบับจะถูกเปลี่ยนตามโทนสีที่เลือก
การกำหนดพื้นหลังภาพโปร่งใส

1. เลือกภาพที่ต้องการปรับแต่ง
2. คลิกแท็บคำสั่งรูปแบบ
3. คลิกที่ปุ่มคำสั่ง สี
4. เลือก กำหนดสีโปร่งใส
5. คลิก กำหนดสีโปร่งใส และเมื่อตัวชี้เปลี่ยนแปลง ให้คลิกสีที่คุณต้องการทำให้โปร่งใส
การปรับความคมชัด และความสว่างของภาพ
หากภาพที่นำมาวางลงบนสไลด์มีความกลมกลืนกับพื้นหลังของสไลด์ สามารถปรับความคมชัดและความสว่างของภาพ เพื่อให้ภาพดูโดดเด่นขึ้น เพิ่มความคมชัด - ตัวอย่างการเพิ่มความคมชัด
การตัดเฉพาะส่วนที่ต้องการ
  หากภาพที่นำมาวางบนสไลด์มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ต้องการ สามารถเลือกตัดเฉพาะส่วนที่ต้องการได้

การแทรกรูปร่างลงบนสไลด์
นอกจากรูปภาพที่แทรกลงบนสไลด์แล้ว ยังสามรรถแทรกรูปร่างลงบนสไลด์ได้โดยในโปรแกรมได้เตรียมรูปร่างต่างๆ ไว้ให้เลือกใช้งานมากมาย โดยสามารถแทรกรูปวางลงบนสไลด์งานได้ดังนี้
1. คลิกที่แท็บแทรก
2. เลือกปุ่มคำสั่งรูปร่าง
3. เลือกรูปร่างที่ต้องการ
4. วาดรูปร่างที่เลือก




บทที่ 5 การปรับแต่งสไลด์ด้วยข้อความ

รูปแบบของการปรับแต่งสไลด์
ในโปรแกรม Power point มีรูปแบบการตกแต่งสไลด์ให้เลือกใช้งานหลายรูปแบบ โดยภายในรูปแแบบนั้นก็จะปรากฏและประกอบด้วยองค์ประกอบภายใน ดังนี้
ใช้ธีมเพื่อทำให้กระบวนการสร้างงานนำเสนอที่มีลักษณะเหมือนนักออกแบบมืออาชีพเป็นเรื่องง่ายขึ้น สี แบบอักษร และลักษณะพิเศษของชุดรูปแบบไม่เพียงใช้งานได้เฉพาะใน PowerPoint เท่านั้น แต่ยังพร้อมใช้งานใน Excel, Word และ Outlook ดังนั้นจึงทำให้งานนำเสนอ เอกสาร แผ่นงาน และอีเมลของคุณมีลักษณะที่เกี่ยวเนื่องชุดรูปแบบเดียวกันที่ใช้ใน PowerPoint, Excel และ Word
เมื่อต้องการจะลองใช้ชุดรูปแบบอื่น ให้วางตัวชี้บนรูปขนาดย่อในแกลเลอรีชุดรูปแบบและให้สังเกตว่าเอกสารของคุณได้เปลี่ยนไปอย่างไรกัน

ชุดรูปแบบ 4 ชุดที่ ใช้ในกราฟิก Smart Art เดียวกัน ตามเข็มนาฬิกา เริ่มจากซ้ายบน : Metro ชุดรูปแบบค่าเริ่มต้นของ Office Apex และ Trek
เคล็ดลับ เมื่อต้องการดาวน์โหลดชุดรูปแบบเพิ่มเติมจาก Microsoft Office.com ในแกลเลอรีชุดรูปแบบ ให้คลิกการเชื่อมโยง ชุดรูปแบบเพิ่มเติมบน Microsoft Office.com

การนำชุดรูปแบบใหม่ไปใช้เป็นการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดหลักในเอกสารของคุณ ลักษณะพิเศษอักษรศิลป์ จะถูกนำไปใช้กับชื่อเรื่องใน PowerPoint โดยตาราง, แผนภูมิ, กราฟิก Smart Art, รูปร่าง และวัตถุอื่นๆ จะได้รับการปรับปรุงเพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์ให้กันและกัน นอกจากนี้ ใน PowerPoint คุณยังสามารถเปลี่ยนแปลงเค้าโครงและพื้นหลังภาพนิ่งของคุณได้เพิ่มขึ้นจากชุดรูปแบบหนึ่งไปยังชุดรูปแบบหนึ่ง ถ้าคุณชอบลักษณะที่แสดงของชุดรูปแบบเมื่อคุณนำไปใช้กับงานนำเสนอของคุณ คุณสามารถดำเนินการจัดรูปแบบใหม่ให้เสร็จสิ้นด้วยเพียงคลิกเดียว ถ้าคุณต้องการกำหนดงานนำเสนอของคุณเองต่อไป คุณสามารถเปลี่ยนสีของชุดรูปแบบแบบอักษรของชุดรูปแบบ หรือลักษณะพิเศษของชุดรูปแบบ

การใช้งานชุดรูปแบบ 
1. เปิดโปรแกรม Microsoft PowerPoint
2. คลิกเลือก Design
3. คลิกเลือก Browse
4. เลือกไฟล์ Template จากไดรฟ์หรือโฟลเดอร์ที่เก็บข้อมูล โดยจะแสดงตัวอย่างเพื่อให้เลือก
5. คลิกปุ่ม Apply
6. คลิกเลือก Template ที่ต้องการ เพื่อเริ่มผลิตงานนำเสนอ

การตกแต่งสไลด์ด้วยชุดรูปแบบสี
สไลด์ที่สร้างไว้มากมายโดยไม่มีสีสันหรือลวดลายประกอบนั้น ถ้านำไปแสดงในที่ประชุมก็อาจ ทำให้ผู้ชมไม่สนใจ การตกแต่งสไลด์จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยดึงความสนใจของผู้ชมไว้ แต่ก็ต้องไม่มากเกิน ไปจนทำให้ผู้ชมสับสน ซึ่งการตกแต่งสไลด์นั้นต้องอาศัยเครื่องมือที่จำเป็น 3 อย่างคือ
1. Template (แม่แบบ) คือแบบสไลด์สำเร็จรูปหรือแม่แบบที่ PowerPoint เตรียมไว้ให้มีทั้งลวด ลาย สี ฟอนต์และขนาดตัวอักษร ช่วยให้การแต่งสไลด์ได้รวดเร็วและประหยัดเวลามากขึ้น
2. Color Schemes (โครงร่างสี) คือกลุ่มของสีที่มีอยู่ด้วยกัน 8 สี ที่ออกแบบมาให้ใช้กับส่วนประกอบต่างๆ ในสไลด์ เช่น สีที่ใช้กับข้อความและเส้น, พื้นหลัง, เงา, หัวเรื่องและอื่นๆ ซึ่งมีให้เลือกหลายชุดด้วยกันและจะแตกต่างกันไปเมื่อเลือกแม่แบบที่ต่างกัน
3. Master (ต้นแบบ) ช่วยให้การแต่งสไลด์ต่างๆ มีมาตรฐานเดียวกัน เช่น กำหนดฟอนต์และ ขนาดของข้อความที่เป็นรายการย่อยครั้งเดียวในสไลด์ที่เป็นต้นแบบ ก็จะมีผลต่อทุกๆ สไลด์ แต่ถ้าจะทำ ให้แผ่นสไลด์ใดๆ แตกต่างจากสไลด์อื่น ก็ให้แต่งที่สไลด์แผ่นนั้นๆ แทน
การปรับแต่งรูปแบบข้อความบนสไลด์

การใส่ข้อความในสไลด์มี 4 วิธีด้วยกันคือ
1. ใส่ในตัวยืด (Placeholder) ตัวยึดนี้จะมาพร้อมกับสไลด์แต่ละแบบที่เลือก ซึ่งสามารถเปลี่ยนฟอนด์หรือขนาดของอักษรได้ โดยแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ หัวเรื่องหลัก (Title), หัวเรื่องรอง (Subtitle) และแบบรายการย่อย (Bullet) ซึ่งในแท็บ Outline (เค้าร่าง) ของมุมมอง Normal (ปกติ) จะแสดงข้อความเหล่านี้ให้เห็นและแก้ไขได้
2. ใส่ในกล่องข้อความ (Textbox) คล้ายกับตัวยึด ใช้เพิ่มข้อความนอกเหนือจากตัวยึดที่มีให้ในแต่ละสไลด์ แต่จะไม่แสดงในแทบ Outline (เค้าร่าง) ของมุมมอง Normal (ปกติ)
3. ใส่ในรูปแบบอัตโนมัติ (AutoShape) ที่มีรูปร่างแบบต่างๆ เช่น ดาว, ลูกศร แต่ไม่แสดงให้เห็นในแท็บ Outline (เค้าร่าง) ของมุมมอง Normal (ปกติ)
4. ใส่ใน WordArt ซึ่งสามารถประดิษฐ์หรือตัดข้อความให้เป็นรูปต่างๆ หมุน ใส่สี หรือมีเงาในแบบแปลกๆ แต่ไม่แสดงในแทบ Outline (เค้าร่าง) ของมุมมอง Normal (ปกติ)

การปรับแต่งพื้นหลังบนสไลด์
คลิกขวาที่ภาพนิ่งที่คุณต้อง การเพิ่มสีพื้นหลังไล่ระดับสีไปแล้ว เลือกพื้นหลังรูป >ไล่ระดับ
เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
เมื่อต้องการใช้สีที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ชนิด และทิศทางของการไล่ระดับสี ให้คลิก การไล่ระดับสีที่กำหนดไว้ แล้วเลือกตัวเลือกที่ต้องการ

การสร้างแม่แบบสไลด์
เมื่อต้องการเริ่มต้นสร้างแม่แบบที่คุณจะใช้ในงานนำเสนอของคุณ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
เปิดงานนำเสนอเปล่า จากนั้นบนแท็บ มุมมอง ในกลุ่ม มุมมองต้นแบบ ให้คลิก ต้นแบบภาพนิ่ง
เคล็ดลับ ในมุมมองต้นแบบภาพนิ่ง ในบานหน้าต่างรูปขนาดย่อของภาพนิ่ง ต้นแบบภาพนิ่งจะแสดงรูปภาพนิ่งขนาดใหญ่ และเค้าโครงที่เกี่ยวข้องขนาดเล็กกว่าอยู่ภายใต้ต้นแบบภาพนิ่งนั้น

1. ต้นแบบภาพนิ่ง
2. เค้าโครงที่เกี่ยวข้อง
เมื่อต้องการกำหนดต้นแบบภาพนิ่งและเค้าโครงที่เกี่ยวข้องเอง ให้ทำอย่างน้อยหนึ่งอย่างต่อไปนี้
เมื่อต้องการเอาพื้นที่ที่สำรองไว้เริ่มต้นที่ไม่ต้องการออกจากเค้าโครง ในบานหน้าต่างรูปขนาดย่อของภาพนิ่ง ให้คลิกเค้าโครงภาพนิ่งที่มีพื้นที่ที่สำรองไว้ ให้คลิกเส้นขอบของพื้นที่ที่สำรองไว้ในหน้าต่างงานนำเสนอ แล้วกด DELETE
เมื่อต้องการเพิ่มตัวแทนข้อความ ในบานหน้าต่างรูปขนาดย่อของภาพนิ่ง ให้คลิกเค้าโครงภาพนิ่งที่คุณต้องการให้มีตัวแทนนั้น แล้วดำเนินการดังต่อไปนี้ บนแท็บ ต้นแบบภาพนิ่ง ในกลุ่ม เค้าโครงต้นแบบ ให้คลิก แทรกพื้นที่ที่สำรองไว้ แล้วคลิก ข้อความ
คลิกที่ตำแหน่งหนึ่งบนต้นแบบภาพนิ่ง จากนั้นลากเพื่อวาดพื้นที่ที่สำรองไว้
เคล็ดลับ เมื่อต้องการปรับขนาดพื้นที่ที่สำรองไว้ ให้ลากมุมใดมุมหนึ่งของเส้นขอบ
พิมพ์ข้อความอธิบายที่จะพร้อมท์ผู้ใช้แม่แบบของคุณใส่ข้อมูลที่จำเพาะเจาะจง เมื่อต้องการเพิ่มข้อความพร้อมที่กำหนดเอง ให้ดู การเพิ่มตัวแทนข้อความด้วยข้อความพร้อมที่กำหนดเอง
เมื่อต้องการเพิ่มพื้นที่ที่สำรองไว้ชนิดอื่นที่มีเนื้อหา เช่น รูปภาพ, ภาพตัดปะ, ภาพหน้าจอ, กราฟิก SmartArt, แผนภูมิ, ภาพยนตร์, เสียง และตาราง บนแท็บ ต้นแบบภาพนิ่ง ในกลุ่ม เค้าโครงต้นแบบ ให้คลิก แทรกพื้นที่ที่สำรองไว้แล้วคลิกชนิดของพื้นที่ที่สำรองไว้ที่คุณต้องการเพิ่ม
เมื่อต้องการเพิ่มความเด่นโดยใช้สีหรือพื้นหลัง ให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
เมื่อต้องการนำธีมไปใช้ (เพื่อให้ใส่สี การจัดรูปแบบ ลักษณะพิเศษต่างๆ ลงในเค้าโครง) กับงานนำเสนอของคุณ บนแท็บต้นแบบภาพนิ่ง ในกลุ่ม แก้ไขชุดรูปแบบ ให้คลิก ชุดรูปแบบ แล้วเลือกชุดรูปแบบ
เมื่อต้องการเปลี่ยนพื้นหลัง บนแท็บ ต้นแบบภาพนิ่ง ในกลุ่ม พื้นหลัง ให้คลิก ลักษณะพื้นหลัง แล้วเลือกพื้นหลัง
เมื่อต้องการตั้งค่าการวางแนวของหน้าสำหรับภาพนิ่งทั้งหมดในงานนำเสนอของคุณ บนแท็บ ต้นแบบภาพนิ่ง ในกลุ่ม การตั้งค่าหน้ากระดาษ ให้คลิก การวางแนวภาพนิ่ง แล้วคลิก แนวตั้ง หรือ แนวนอน
เมื่อต้องการบันทึกแม่แบบของคุณ ให้คลิก ปุ่ม Office  แล้วคลิก บันทึกเป็น
ในกล่อง ชื่อแฟ้ม ให้พิมพ์ชื่อแฟ้ม หรือไม่ต้องพิมพ์เพื่อยอมรับชื่อแฟ้มที่แนะนำ
ในรายการ บันทึกเป็นชนิด ให้คลิก แม่แบบ PowerPoint แล้วคลิก บันทึก
เคล็ดลับ บันทึกแม่แบบของคุณลงในโฟลเดอร์แม่แบบที่ C:\Program Files\Microsoft Office\Templates\ เพื่อให้ง่ายในการค้นหา
ถ้าคุณต้องการความช่วยเหลือในการนำแม่แบบใหม่ของคุณไปใช้กับงานนำเสนอ ให้ดู การนำแม่แบบไปใช้กับงานนำเสนอของคุณ